ข้ามไปยังเนื้อหา
noneช่วงของการตั้งครรภ์และเคล็ดลับขณะตั้งครรภ์

ช่วงของการตั้งครรภ์และเคล็ดลับขณะตั้งครรภ์

สิ่งที่คุณต้องเผชิญและเคล็ดลับการมีสุขภาพดีระหว่างตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์เป็นประสบการณ์สุดวิเศษ ตลอดระยะเวลา 40 สัปดาห์ของปฏิทินการตั้งครรภ์ คุณจะได้สัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงที่มหัศจรรย์ของร่างกาย ข้อมูลต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของสิ่งที่จะเกิดขึ้นตลอดสามช่วงของการตั้งครรภ์ (สามไตรมาส) และเคล็ดวิธีที่จะทำให้คุณและทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี

ไตรมาสแรก (สัปดาห์ที่ 1-12)

ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นภายในร่างกายของคุณร่างกายจะค่อยๆ แสดงอาการให้คุณรู้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ อาการดังกล่าวอาจรวมถึง

  • อาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง
  • อาการแพ้ท้อง
  • เต้านมนิ่มหรือบวม
  • อยากอาหาร
  • อารมณ์ไม่ปกติ
  • น้ำหนักเพิ่ม

ไตรมาสที่สอง (สัปดาห์ที่ 13-28)

คุณจะรู้สึกว่าช่วงเวลานี้ดีขึ้นกว่าช่วงแรก อาการแพ้ท้องและอาการเหนื่อยล้าจะลดลง ครรภ์ของคุณจะโตคุณไม่นานจากนั้น คุณจะเริ่มรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ คุณจะมีอาการต่อไปนี้

  • ปวดหลัง ท้อง และขาหนีบ
  • ท้องลาย
  • มือชาหรือเป็นเหน็บ
  • ข้อเท้า มือ และใบหน้าบวมเล็กน้อย

ไตรมาสที่สาม (สัปดาห์ที่ 29-40)

ในช่วงนี้คุณจะมีท้องขนาดเท่าลูกฟุตบอลและอาจรู้สึกอึดอัดเพราะขนาดของทารกที่ใหญ่ขึ้นจะไปเบียดกับอวัยวะภายในของคุณ ซึ่งอาจส่งผลให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นนอกจากนี้ คุณจะยังสังเกตได้ว่าคุณอาจมีอาการต่อไปนี้

  • หายใจไม่ทัน
  • ข้อเท้า มือ และใบหน้าบวมขึ้นกว่าในช่วงก่อน (หากบวมมากจนผิดปกติ กรุณาพบแพทย์ทันที)
  • เต้านมนิ่มและอาจมีน้ำนมซึมออกมาบริเวณหัวนม
  • นอนไม่หลับ

เคล็ดลับป้องกันอาการป่วยระหว่างตั้งครรภ์

อย่าเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเป็นเรื่องไม่สำคัญ - สิ่งมีชีวิตน้อยๆกำลังถือกำเนิดในครรภ์ของคุณ คุณจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

  • เข้านอนเร็วขึ้นและนอนให้มากขึ้น (ในขณะที่คุณยังนอนหลับ!) รับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
  • หลีกเลี่ยงที่จะรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค เนยแข็ง เนื้อเย็น และไข่กึ่งสุกกึ่งดิบซึ่งล้วนมีความเป็นไปได้ที่จะมีแบคทีเรียแอบแฝง ควรติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับรายการอาหารที่ควรงดรับประทาน
  • รับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิคจนครรภ์มีอายุครบ 12 สัปดาห์ เพื่อป้องกันทารกมีอาการกระดูกสันหลังโหว่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสอุจจาระแมว เพราะอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อทอกโซพลาสโมซิส (การติดเชื้อที่ในกรณีรุนแรงอาจทำลายดวงตาและสมองของทารก)
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณต่างๆ ในที่พักอาศัยที่มีการสัมผัสอยู่เสมอ
  • ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่และน้ำสะอาด

สุดท้าย จงเพลิดเพลินกับการตั้งครรภ์เพราะเวลาผ่านไปไวกว่าที่คุณคิด

ความเชี่ยวชาญ ของเรา