การเปลี่ยนผ้าอ้อมทารก
สุขอนามัยที่ดีนั้นจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการเกิดผื่นคันจากการใช้ผ้าอ้อมและการหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรค แต่คุณจะทราบได้อย่างไรว่าควรใช้ผ้าอ้อมชนิดใด?และความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ต้องระมัดระวังมีอtไรบ้าง? กรุณาศึกษาวิธีการเปลี่ยนผ้าอ้อมด้านล่างนี้
ผ้าอ้อมที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยควรมีลักษณะอย่างไร สามารถใช้วัสดุอื่นได้หรือไม่?
ผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้ง
ผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้งมีความสามารถในการดูดซับที่ดีเยี่ยม ทำให้ผิวของลูกน้อยแห้งสนิท ป้องกันไม่ให้เกิดผื่นคัน ใช้งานง่าย เมื่อใช้แล้ว เพียงม้วน ใส่ลงในถุงผ้าอ้อมใช้แล้วและทิ้ง
แผ่นรองสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม
แผ่นรองสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นวัสดุที่ใช้รองร่างทารกเพื่อการเปลี่ยนผ้าอ้อม เป็นอุปกรณ์ที่สะดวกต่อการใช้งานและถูกสุขอนามัย เลือกวัสดุที่สามารถล้างทำความสะอาดได้และไม่มีรอยฉีกขาดเพื่อป้องกันการสะสมตัวของแบคทีเรีย
เคล็ดลับในการเปลี่ยนผ้าอ้อมทารก
- แกะผ้าอ้อมที่เลอะจับข้อเท้าทารกยกขึ้น ดึงผ้าอ้อมออกให้พ้นตัวทารก
- ใช้ก้อนสำลีเช็ดทำความสะอาดทารกโดยเช็ดจากด้านหน้าไปทางด้านหลัง (การเช็ดจากด้านหลังมาทางด้านหน้าอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในท่อปัสสาวะ)
- สำหรับเด็กผู้ชายผู้ดูแลเด็กควรวางผ้าอ้อมที่แห้งบนอวัยวะเพศของทารกระหว่างการเปลี่ยนผ้าอ้อม เนื่องจากการให้อวัยวะเพศสัมผัสกับอากาศอาจทำให้ทารกปัสสาวะ เมื่อทำความสะอาดแล้วกดหัวอวัยวะเพศลงด้านล่างก่อนติดแถบยึดผ้าอ้อมเพื่อป้องกันปัสสาวะร่วมซึมทางขอบเอว
- พับขอบผ้าอ้อมบริเวณเอวของทารกให้อยู่ต่ำกว่าสะดือ
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแผ่นรองและพื้นผิวทุกครั้งหลังการใช้งาน
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการเปลี่ยนผ้าอ้อมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ทิ้งผ้าอ้อมใช้แล้วในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิทและนำไปทิ้งถังขยะนอกตัวอาคารในทันที
- การซักผ้าอ้อมแบบใซ้แล้วซักให้แยกออกจากเสื้อผ้าชนิดอื่นและในการทำความสะอาด ให้ใช้กระดาษชำระเก็บอุจจาระออกจากผ้า นำอุจจาระไปทิ้งในห้องน้ำ จากนั้นซักผ้าอ้อมตามปกติและตามด้วยน้ำร้อน (อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส) หรืออาจซักด้วยน้ำร้อนผสมกับเดทตอลน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ผื่นคันที่เกิดจากการใช้ผ้าอ้อม
การเปลี่ยนผ้าอ้อมคืองานสำคัญงานหนึ่งของคุณแม่มือใหม่ ผู้ดูแลทารกต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมทันทีที่ผ้าอ้อมเปียกชื้น อาการท้องเสียของทารกหรือปฏิกิริยาต่อสบู่บางชนิดอาจส่งผลให้เกิดผื่นคันสีแดงบริเวณก้นของทารก
- เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ และใช้ผ้าอ้อมขนาดใหญ่กว่าตัวทารกเล็กน้อยเพื่อให้ทารกรู้สึกสบายตัวไม่อึดอัดและช่วยให้อาการผื่นคันบรรเทาลง
- ล้างก้นทารกด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังการเปลี่ยนผ้าอ้อม หลีกเลี่ยงการใช้สบู่
- ซับน้ำให้แห้งด้วยผ้าขนหนูนุ่มๆ ห้ามเช็ดด้วยการถูโดยเด็ดขาด
- ทาครีมแก้ผื่นคันตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพกำหนด
- หยุดใช้ผ้าอ้อมสักระยะเพื่อให้ก้นของทารกสัมผัสกับอากาศ
เมื่อผื่นหายแล้วใช้ครีมทาผิวทารกให้ชุ่มชื้นเพื่อป้องกันผื่นคันจากการใช้ผ้าอ้อม แต่ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไปอาจทำให้ประสิทธิภาพการซับน้ำของผ้าอ้อมลดลง