โรคไข้หวัดหมู (H1N1)
หากคุณไม่เคยได้ยินชื่อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 คูณอาจเคยได้ยินชื่อที่ผู้คนเรียกกันโดยทั่วไปว่าโรคไข้หวัดหมู เรียกตามชื่อของอาการที่พบในช่วงแรกเนื่องจากมีอาการคล้ายอาการของโรคไข้หวัดหมู
ในปี 2552 โรคไข้หวัดหมูเกิดขึ้นและแพร่กระจายในประเทศเม็กซิโก จากนั้นแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เคราะห์ดีที่สถานการณ์มิได้เลวร้ายอย่างที่มีการวิตกกังวลและองค์การอนามัยโลกได้ประกาศ
การสิ้นสุดของการแพร่ระบาดในปี 2553
ถึงกระนั้นก็ตาม ความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดหมูยังคงอยู่ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1
เป็นสายพันธุ์ที่มักแพร่กระจายในหมู่ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต และโรคตับ
โดยมีโอกาสเพิ่มความซับซ้อนให้กับอาการของโรค
โรคไข้หวัดหมูเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แพร่กระจายในลักษณะเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
ได้แก่การสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ การสูดหายใจเอาอากาศหรือละอองไวรัสที่ผู้ป่วยไอหรือจามเข้าสู่ร่างกาย
หรือการสัมผัสวัตถุที่ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ได้สัมผัส
ระยะฟักตัวของโรคไข้หวัดใหญ่คือ 4-6 วัน ในคนวัยผู้ใหญ่ อาการของโรคจะแสดงเมื่อรับเชื้อมาแล้ว
เป็นเวลาหนึ่งวัน นั่นหมายถึงคุณอาจเป็นผู้แพร่เชื้อ H1N1 ไปสู่ผู้อื่นโดยไม่รู้
ระยะเวลาการแพร่เชื้อของโรคไข้หวัดใหญ่ ยาวนานเพียงใด? สำหรับคนวัยผู้ใหญ่ ระยะเวลาการแพร่เชื้อคือระหว่าง 5-7 วัน แต่ในบางกรณีอาจถึงสองสัปดาห์
อาการของโรคไข้หวัดหมูมีดังนี้
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- อ่อนล้า
- เจ็บคอ
- ไอ
- มีไข้
- น้ำมูกไหล
- ท้องเสียหรืออาเจียน
- ปวดศีรษะ
- หอบ
รับการฉีดวัคซีน
วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดหมูมักรวมอยู่กับวัคซีนป้องกันไวรัสหวัดชนิดอื่นอยู่แล้ว ผู้มีความเสี่ยงสูงควรรับการฉีดวัคซีนดังกล่าว ปรึกษารายละเอียดการฉีดวัคซีนกับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของท่าน
ล้างมือเป็นประจำ
การมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลความสะอาดของมือสามารถช่วยหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
ใช้เจลล้างมืออนามัย เมื่อไม่สามารถล้างมือด้วยสบู่ได้
ใช้กระดาษทิชชู
ปิดปากและจมูกด้วยหระดาษทิชชู่ทุกครั้งที่ไอหรือจามและทิ้งกระดาษทิชชู่ใช้แล้วในถังขยะ หากไม่มีกระดาษทิชชู่ ใช้ข้อศอกปิดปากหรือจมูกแทนการใช้มือ
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่มีการสัมผัสอยู่เสมอ
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวเรียบได้ยาวนานถึง 48 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้ การทำความสะอาดพื้นผิวหรือวัตถุที่มีการหยิบจับหรือสัมผัสอยู่เสมอ เช่น มือจับ เคาน์เตอร์ สวิตช์ไฟ จึงมีความสำคัญ
ไม่เข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ
หลีกเลี่ยงการพบปะหรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และหาดคุณเป็นผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการพบปะ
หรือสัมผัสบุคคลอื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับไข้หวัดหมูหรือไวรัส H1N1 ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของท่าน
ร่วมด้วย ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านในกรณีที่มีความกังวลหรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับอาการของโรค