ข้ามไปยังเนื้อหา
noneอาหารเป็นพิษ (อาการป่วยจากอาหารเป็นพิษ)

อาหารเป็นพิษ (อาการป่วยจากอาหารเป็นพิษ)

เรียนรู้เกี่ยวกับอาการป่วยจากอาหารเป็นพิษและวิธีการป้องกันการติดเชื้อด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี

อาการอาหารเป็นพิษ (อาการป่วยจากอาหารเป็นพิษ) เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียหรือไวรัส อาจเป็นอาการที่ทำให้คุณรู้สึกแย่และไม่สบายตัวแต่โดยมากไม่จำต้องพบแพทย์ 
เพียงดื่มน้ำมากๆ ล้างมือให้สะอาดและรับประทานอาหารเบาๆ อาการของคุณจะกลับเป็นปกติภายใน 1-2 วัน

อาการอาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียหรือไวรัส เช่น 
เชื้อแคมพีโลแบดตอร์ ซาลโมเนลลา หรืออีโคไล บ่อยครั้งที่อาหารดิบต่างๆ เช่น เนื้อแดง สัตว์ปีก ไข่ ปลา อาหารทะเล ผลไม้ และผักจะมีเชื้อโรคชนิดต่างๆ ปนเปื้อน เชื้อโรคดังกล่าวสามารถแพร่กระจายไปยังอาหารหรือพื้นผิวอื่นๆ ในห้องครัวหรือในบริเวณและอุปกรณ์ที่คุณใช้ประกอบอาหาร เช่น เขียง เครื่องครัว และก๊อกน้ำ การแพร่กระจายของเชื้อในลักษณะนี้ก่อให้เกิดอาการป่วยจากอาหารเป็นพิษได้สูงถึงร้อยละ 40 ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องใช้ความระมัดระวังและใส่ใจอย่างมากในการตระเตรียมและประกอบอาหารในครัว สิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อสุขอนามัยของอาหารที่รับประทานคือ การแพร่กระจายของเชื้อจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง การทำความสะอาด การประกอบอาหาร และการแช่เย็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว   

เชื้อโรคที่สำคัญที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้แก่ แคมพีโลแบดตอร์ ซาลโมเนลลา ลิสเทอเรีย อีโคไล และโนโรไวรัส (ไวรัสที่ก่อให้เกิดการอาเจียน)

สาเหตุการเกิดอาหารเป็นพิษที่พบโดยทั่วไป

  • การรับประทานอาหารดิบหรืออาหารที่ปรุงไม่สุก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์จำพวกไก่ หมู เบอร์เกอร์ ไส้กรอก และคีบับ)
  • การรับประทานอาหารหมดอายุหรืออาหารที่มิได้รับการจัดเก็บหรือแช่เย็นอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่จัดเตรียมหรือปรุงโดยผู้ที่มีอาการของโรคท้องร่วงหรือมีการอาเจียน
  • การแพร่กระจายของเชื้อโรค (จากอาหารชนิดหนึ่งแพร่ไปยังอาหารชนิดอื่น)

 อาการของโรคอาจแสดงภายใน 1-36 ชั่วโมง ภายหลังการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของเชื้อโรคที่ได้รับ

คุณอาจมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้หรือหลายอย่างรวมกัน

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องร่วง

อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ 

  • ปวดเกร็งบริเวณช่องท้อง
  • ปวดหลัง
  • ไม่อยากอาหาร
  • มีไข้สูง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • หนาวสั่น

หากคุณรู้สึกว่าท้องเริ่มมีอาการผิดปกติภายหลังการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำมากๆ และดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) เกลือแร่จะเข้าทำหน้าที่ชดเชยแร่ธาตุและเกลือแร่ที่คุณเสียไปจากการอาเจียนและการถ่ายท้อง เกลือแร่ในท้องตลาดมักอยู่ในรูปซองสำหรับละลายน้ำ

รับประทานอาหารตามปกติ แต่เป็นอาหารเบาๆ มื้อเล็กๆ หลีกเลี่ยงอาหารมัน เผ็ด เค็ม และหวาน

หากอาการของโรคยังคงอยู่เกินกว่า 1-2 วัน หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาสุขภาพ

การป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรืออาหารเป็นพิษนั้นสามารถทำได้หลายวิธี 
เพียงปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

รักษาความสะอาด

ดูแลสุขอนามัยของมือ : ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ รวมถึงก่อนและหลังการประกอบและรับประทานอาหาร หากคุณอยู่ในที่ที่ไม่มีสบู่หรือน้ำสำหรับล้างมือ 
ควรใช้เดทตอล เจลล้างมืออนามัย เป็นตัวช่วยในการทำความสะอาดมือของคุณ

ปรุงอาหารให้สุก

การปรุงเนื้อควรปรุงให้สุกทั้งชิ้น น้ำที่ซึมออกมาควรเป็นสีใส ไม่เป็นสีชมพู และในการอุ่นอาหาร
ควรอุ่นให้เดือดทั่วและไม่อุ่นอาหารซ้ำเกินกว่าหนึ่งครั้ง

อาหารที่ปรุงสุกแล้วควรปล่อยให้เย็น ปิดฝา และเก็บรักษาในที่เย็นภายในหนึ่งชั่วโมง

แบ่งอาหารใส่ภาชนะเล็กๆ เพื่อให้อาหารเย็นเร็วขึ้น ปฏิบัติตามวิธีการจัดเก็บอาหารสดและใช้วัตถุดิบ
ภายในระยะเวลาที่กำหนด

หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง

ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนประกอบอาหารและทันทีหลังจากสัมผัสกับอาหารดิบ แยกอาหารดิบออกจากอาหารที่ปรุงสุกแล้ว โดยแยกเครื่องครัวและเขียง และไม่วางอาหารดิบไว้เหนืออาหารสุกในตู้เย็น 
ด้วยน้ำหรือชิ้นส่วนจากอาหารดิบอาจหยดหรือตกลงปนเปื้อนในอาหารที่ปรุงสุกแล้ว

ความเชี่ยวชาญ ของเรา