อาการท้องเสีย
อาการท้องเสีย คืออาการที่คุณขับถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะของอาการ
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อีกอาการหนึ่งที่อาจเกิดร่วมด้วยคือการอาเจียน อาการกระเพาะอาหาร
และลำไส้อักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสบริเวณท้องหรือลำไส้ โดยทั่วไป อาการท้องเสียจะคงอยู่
ประมาณ 2-4 วัน และจะทุเลาจนหายขาดเอง
ในช่วงเวลาดังกล่าว การมีสุขอนามัยที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อมิให้อาการท้องเสียคงอยู่ต่อไป
และเพื่อมิให้มีการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังบุคคลอื่น กรุณาศึกษาวิธีการป้องกันด้านล่างนี้
หากอาการท้องเสียยังคงอยู่ต่อไป อาการดังกล่าวอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่มีความรุนแรงกว่าการ
รับประทานอาหารปนเปื้อนทั่วไป คุณควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย
อาการท้องเสียเกิดขึ้นได้อย่างไร?
โดยทั่วไปแล้ว อาการท้องเสียจะเกิดจากภาวะติดเชื้อที่เกิดจากการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน (อาการท้องเสียที่เกิดภายหลังการรับประทานอาหาร) จากการที่มือสกปรก หรือการสัมผัสโดยตรง
กับสิ่งปฏิกูล นอกจากนี้ แบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตหลากหลายชนิดเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้
- ถ่ายเหลว
- ปวดเกร็งบริเวณท้อง
- ต้องการขับถ่ายอย่างเร่งด่วน
- คลื่นไส้และอาเจียน
- มีไข้
- ไม่อยากอาหาร
- ขาดน้ำ
สำหรับผู้ใหญ่ หากพบว่ามีอาการรุนแรงอื่นร่วมด้วยหรืออาการท้องเสียยังคงมีอยู่เกินกว่าหนึ่งสัปดาห์
ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาสุขภาพ
อาการของโรคท้องเสียมักทุเลาและหายขาดภายในไม่กี่วัน ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว
ควรดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ
ดื่มน้ำมากๆ และอาจดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย โดยมากมักอยู่ในรูปซองสำหรับชงน้ำดื่ม เพื่อทดแทน
สารอาหารและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป
พยายามรับประทานอาหารตามปกติ แต่เป็นอาหารเบาๆ มื้อเล็กๆ หลีกเลี่ยงอาหารมัน เผ็ด เค็ม และหวาน สำหรับอาการท้องเสียในเด็ก ผู้เลี้ยงดูควรให้อาหารตามปกติ
การป้องกันอาการท้องเสียทำได้ด้วยวิธีการใดบ้าง?
ดูแลสุขอนามัยของมือ
ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเข้าห้องน้ำ ก่อนและหลัง
การประกอบและการรับประทานอาหาร แต่หากคุณอยู่ในที่ที่ไม่มีสบู่และน้ำสะอาดสำหรับล้างมือ คุณอาจใช้เจลล้างมืออนามัยแทนการล้างน้ำ
สุขอนามัยในห้องน้ำ
ภายหลังจากที่อาการท้องเสียทุเลา การรักษาความสะอาดภายในห้องน้ำนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการสัมผัสและใช้งานอย่างสม่ำเสมอ (เช่น ที่รองนั่ง ฝาครอบชักโครก ปุ่มกดหรือ
คันโยกซึ่งควรได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นประจำสม่ำเสมอ)
ผ้าที่ใช้ในการทำความสะอาดห้องน้ำควรแยกออกต่างหากจากผ้าที่ใช้ทำความสะอาดส่วนอื่นของที่พักอาศัย
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่ใช้ในการประกอบอาหารหลังการใช้งาน (โดยเฉพาะอย่างในบริเวณ
ที่มีการสัมผัสกับเนื้อดิบ ปลา หรือไข่) ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวต่างๆ ในห้องครัวที่ผ่านการใช้งาน
และทำความสะอาดเครื่องครัว ช้อนส้อม และภาชนะต่างๆ ด้วยน้ำร้อนและน้ำยาทำความสะอาด
ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อสมาชิกในครอบครัวมีอาการท้องเสีย